รพ.ราชทัณฑ์ เปิดจุดเกิดเหตุ บุ้ง ทะลุวัง หมดสติ นอนเตียงเดียวกับ ตะวัน

รพ.ราชทัณฑ์ เปิดจุดเกิดเหตุ บุ้ง ทะลุวัง หมดสติ นอนเตียงเดียวกับ ตะวัน

โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เปิดจุดเกิดเหตุ บุ้ง ทะลุวัง ฟุบก่อนหมดสติ นอนเตียงเดียวกับ ตะวัน ยืนยันมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต มีกล้องวงจรปิด

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 พ.ค.2567 เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ นำสื่อมวลชนเข้าดูอาคารผู้ป่วยนักโทษหญิง ภายในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งสื่อมวลชนที่เข้าไป จะต้องถูกเก็บเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร เข้าไปได้เพียงแต่ตัวเท่านั้น

เมื่อผ่านเครื่องคัดกรอง ก็จะเจอ 2 อาคาร ซึ่งด้านซ้ายเป็นอาคารผู้ป่วยชาย สูง 9 ชั้น ด้านขวาเป็นอาคารผู้ป่วยหญิงสูง 2 ชั้น สำหรับจำนวนนักโทษที่ต้องรักษาภายในโรงพยาบาลมีทั้งสิ้น 424 คน เป็นชาย 370 คน และหญิง 54 คน (อัพเดตวันที่ 20 พ.ค.67) หน้าประตูเข้าแดนผู้ป่วยหญิง จะมีถนนและทางลาดเข้าตัวอาคาร ซึ่งบริเวณทางเข้า จะมีเข้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 2 คน

โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เปิดจุดเกิดเหตุ บุ้ง ทะลุวัง ฟุบก่อนหมดสติ นอนเตียงเดียวกับ ตะวัน ยืนยันมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต มีกล้องวงจรปิด

โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เปิดจุดเกิดเหตุ บุ้ง ทะลุวัง ฟุบก่อนหมดสติ นอนเตียงเดียวกับ ตะวัน ยืนยันมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต มีกล้องวงจรปิด

ชั้นที่ 1 ของอาคาร เป็นห้องขนาดใหญ่ และแบ่งเป็นห้องพักแพทย์ ห้องเก็บอุปกรณ์ ห้อง ICU ห้อง treatment ห้องเฝ้าระวัง และทางเดินด้านหน้าทางเข้าห้องต่าง ๆ จะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับห้อง ICU ขนาด จากการประเมินด้วยสายตา มีกว้างประมาณ 2.5 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร

ภายในห้อง จากคำบอกของเจ้าหน้าที่ มีอุปกรณ์สำหรับกู้ชีพฉุกเฉิน ได้แก่ เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ หรือ Defibrillator, เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจของหัวใจผู้ป่วย หรือ EKG Monitor ซึ่งจะใช้วัดทุก 3 นาที,

กล่อง Magic box (กล่องยาฉุกเฉิน), ยาทุกชนิดสำหรับการรักษาภาวะวิกฤตฉุกเฉิน, สารอื่นในการขยายหลอดเลือดช่วยการเต้นของหัวใจ เช่น กลูโคส อะดรีนาลีน, เครื่องวัดความดัน, เครื่องคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจ, ท่อช่วยหายใจ, กล่องอุปกรณ์ข่วยหายใจ หรือ Ambu Bag เป็นต้น

และมีเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำ 6-7 คน แพทย์ 2 คน ตามเวลาราชการ แต่หากหลังจากนั้นจะเหลือพยาบาลเพียง 2 คน และแพทย์ 1 คน ส่วนกล้องวงจรปิด มี 4 ตัว แบ่งเป็น ทางเดินด้านนอก 2 ตัว และภายในห้องกระจก 2 ตัว อยู่มุมซ้ายขวา

สำหรับทางเดินหน้าห้องกระจก กว้างประมาณ 3 เมตร แต่มีชั้นล็อกเกอร์สูงประมาณ 80 เซนติเมตร วางตามแนวกำแพง และมีโต๊ะวางอยู่ริมระเบียง จำนวน 3 โต๊ะ ซึ่งมีโต๊ะ 1 ตัววางอยู่ใกล้ทางขึ้นบันได ซึ่งบันไดมีขนาด 1.2 เมตร

เมื่อเดินดูชั้น 2 จะมีห้องขนาดใหญ่ทั้งหมด 4 บล็อก (Blog) เลขที่ 2/1-2/4 โดยทุกห้องเป็นห้องพัดลมทั้งหมด ส่วนทางเดินหน้าห้องมีชั้นวางหนังสือ 1 ตู้ ความสูง 1 เมตร และมีที่นั่งม้าหินยาวทอดริมระเบียง

ขณะที่ห้องเลขที่ 2/1-2/2 พบว่ามีเตียงวางทั้งหมด 10 เตียง โดยไม่มีกระจกกั้นใด ๆ ขณะที่ห้องเลขที่ 2/3-2/4 จะถูกแบ่งไว้ทั้งหมด 4 ห้อง (พร้อมเตียง 4 เตียง ขนาด 3 ฟุต มีหมอน 2 ใบ คือ สีน้ำตาล 1 ใบ และสีขาว 1 ใบ ผ้าห่มสีฟ้า 1 ผืน และเตียงถูกปูด้วยผ้าปูสีขาว) และมีกระจกพร้อมติดตั้งลูกกรงสีน้ำตาล

ขณะที่ในส่วนทางเดิน หรือปลายเท้าของผู้ป่วย จะเป็นเตียงนอนและที่นั่งสำหรับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ (อสรจ.) ซึ่งจะสวมเสื้อสีฟ้า จำนวน 1 รายต่อ 1 บล็อก รวมทั้งหมดบนชั้น 2 มีเจ้าหน้าที่ อสรจ. รวม 4 ราย

อีกทั้งจะมีป้ายวางบริเวณหน้าห้องผู้ป่วยแต่ละบล็อก เพื่อบอกจำนวนผู้ต้องขังที่ป่วยภายในห้องนั้น ๆ ว่ามีกี่ราย เป็นศาสนาใดบ้าง และมีกี่รายออกไปศาล

สำหรับห้องพักผู้ป่วยของบุ้ง กว้างประมาณ 1.1 เมตร ยาวประมาณ 2 เมตร ส่วนเตียงของบุ้งและตะวัน เจ้าหน้าที่ยืนยันว่า บุ้งและตะวันนอนเตียงเดียวกัน โดยเป็นคำร้องขอจากทั้งคู่ ซึ่งเตียงมีขนาด 3 ฟุต และภายในห้องมีชั้นลิ้นชัก 3 ชั้น

ด้านบนมีการวางเครื่องวัดความดันแบบพกพา ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ปวดศีรษะ เจลแอลกอฮอล์ และปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล 3 แท่ง และยังมีหัวเตียงมีจ่ายออกซิเจนบนหัวเตียงอีกด้วย

ซึ่งห้องของบุ้งอยู่ติดริมลูกกรงทางเดิน ส่วนกล้องวงจรปิดจากที่สังเกตเห็นเพียงบริเวณทางเดินด้านหน้า 1 ตัว มุมกล้องหันมาที่เตียงของบุ้ง

ประเด็นเรื่องรถนําตัวผู้ต้องขังป่วยส่งโรงพยาบาลแม่ข่าย (Ambulance) นั้น หากเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉินแก่ผู้ต้องขังป่วย รถประเภทดังกล่าว ซึ่งมีจำนวน 2 คัน

โดย 1 ในนั้น คือ รถทะเบียน 8กช4837 กรุงเทพมหานคร เป็นรถที่ใช้นำตัว น.ส.เนติพร หรือ บุ้ง ซึ่งมีภาวะฟุบ วูบหมดสติ จับสัญญาณชีพจรด้วยมือไม่ได้ ออกจากแดนหญิง ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพื่อไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ

ซึ่งรถจะขับออกมาจากลานจอดรถที่บริเวณด้านหน้าอาคารทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยมีระยะทางไม่เกิน 50 เมตร ก่อนเข้าประตูแดนหญิง และเข้าจอดเทียบบนทางลาดใต้อาคารเพื่อรับตัวผู้ป่วย ก่อนขับวนออกประตูสำหรับรถนำส่งผู้ป่วย ซึ่งเป็นประตูเหล็กม้วน

ส่วนอุปกรณ์ภายในรถพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (AED​), หน้ากากอ๊อกซิเจน, เครื่องช่วยหายใจแบบบีบมือ (ambubag), ถังoxygen, เครื่องใส่ท่อช่วยหายใจ (Laryngoscope), กระเป๋าช่วยชีวิตฉุกเฉิน ชุดเฝือกลม ชุดล็อคศีรษะ เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามรายละเอียด ในห้อง ICU แต่เจ้าหน้าที่ที่พาเดินดูไม่สามารถตอบได้ว่าภายในห้อง ICU มียาประเภทใดบ้าง บอกเพียงมียาทุกประเภท และ เมื่อถามเหตุการณ์วันที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถบอกได้ บอกแค่ว่าเป็นไปตามที่ผู้บริหารกระทรวงแถลง

จุดข้อสงสัยตามที่ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ แถลงว่าหลังจากที่บุ้งลุกขึ้นมานั่งและล้มลงไปเจ้าหน้าที่ได้ยกตัวบุ้งพร้อมที่นอนลงมาจากชั้น 2 มายังห้องไอซียูด้านล่าง แต่ขนาดพื้นที่ที่ผู้สื่อข่าวเข้าไปดูบริเวณทางขึ้นบันไดชั้น 1 มีโต๊ะกั้น อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการยกที่นอนที่มีร่างบุ้งอยู่ด้านบนมา ICU ได้

ขณะที่ประตูเข้าห้องผู้ป่วย จะมีการล็อกแม่กุญแจจากด้านนอก ฉะนั้นขณะเกิดเหตุมีความเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ อสรจ. จะต้องตะโกนให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ขึ้นมาเปิดประตู ก่อนจะยกตัวบุ้งออกไปยังห้อง ICU